สาเหตุของยางกินไหล่ด้านใน พร้อมวิธีสังเกตและแก้ไข

Bridgestone Tire Clinic | ความรู้ทั่วไปสำหรับผู้ใช้รถยนต์

 

สาเหตุของยางกินไหล่ยางด้านใน พร้อมวิธีสังเกตและแก้ไข

 

ยางกินใน มีสาเหตุมาจากช่วงล่างรถยนต์

ยางกินในมีสาเหตุมาจากช่วงล่างรถยนต์


ปัญหายางกินใน ส่วนมากมีสาเหตุมาจากช่วงล่างรถยนต์ ซึ่งหากไม่รีบแก้ไขสิ่งที่จะเสียหายต่อมาก็คือยางรถยนต์ทำให้หน้ายางรถยนต์มีการสึกไม่เท่ากัน

 

 

ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เกิดปัญหายางกินใน

 

1.     การปรับแต่งศูนย์ล้อ

การตั้งศูนย์ล้อหรือมุมล้อ หมายถึง การปรับองศาของพวงมาลัยรถและอุปกรณ์ช่วงล่างที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของรถ ซึ่งไม่ใช่การปรับแต่งที่ล้อยางหรือกระทะล้อ การตั้งศูนย์ล้อไม่เหมาะสมจะทำให้ยางเสื่อมสภาพและสึกหรอผิดปกติ รวมทั้งทำให้เกิดยางกินใน จึงต้องให้ความสำคัญกับการตั้งศูนย์ล้อ ด้วยการให้ช่างมืออาชีพดูแลและปรับแต่งให้ตรงตามมาตรฐานของรถ

 

2.       สไตล์การขับขี่

จริงอยู่ว่าการขับขี่โดยปกติก็ทำให้ยางรถค่อย ๆ เสื่อมสภาพอยู่แล้ว แต่สไตล์การขับขี่จะมีผลให้เกิดการสึกหรอและยางกินในเพิ่มขึ้น  ซึ่งการขับขี่สไตล์ผาดโผน ชอบดริฟท์รถเมื่อเข้าโค้ง หรือชอบสาดโค้งแรงๆ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหายางกินในได้

ยางกินในเกิดจากการปรับแต่งศูนย์ล้อไม่เหมาะสมและสไตล์การขับขี่

ยางกินในเกิดจากการปรับแต่งศูนย์ล้อไม่เหมาะสมและสไตล์การขับขี่

 

มุมล้อทั้งสาม ปรับให้ดี ไม่มีปัญหายางกินใน

 

การตั้งศูนย์ล้อมีองค์ประกอบสำคัญคือมุมทั้ง 3 แบบ ได้แก่

·     

มุมแคมเบอร์

คือ มุมเอียงของล้อตามแนวดิ่ง ที่ช่วยให้รถยึดเกาะถนนเมื่อเข้าโค้ง วิธีสังเกตมุมแคมเบอร์คือให้มองจากหน้ารถ หากแนวดิ่งของล้อขนานกัน แสดงว่ามุมแคมเบอร์มีค่าเป็น 0 ถ้าด้านล่างหุบเข้าด้านบนถ่างออกจะมีค่าเป็น + แต่หากด้านล่างถ่างออกด้านบนหุบเข้าจะมีค่าเป็น – สำหรับการใช้งานทั่วไปจะตั้งค่าให้ติดลบเล็กน้อยเพื่อช่วยให้เข้าโค้งได้ดี แต่หากมากเกินไปจะทำให้เกิดปัญหายางกินในและควบคุมรถทางตรงลำบาก โดยส่วนใหญ่รถยนต์นั่งมักจะมีมุมแคมเบอร์เป็นลบเล็กน้อยอยู่แล้ว


มุมแคมเบอร์ช่วยให้เข้าโค้งได้ดี

 

มุมแคมเบอร์ช่วยให้เข้าโค้งได้ดี

 

 

มุมโท

มุมที่ทำให้รถวิ่งได้ตรงและนิ่ง สังเกตได้ง่ายๆ หากล้อขนานกับตัวรถจะมีค่าเป็น 0 ถ้าล้อด้านหน้าหุบเข้าเรียกว่า Toe-In มีค่าเป็นลบ แต่ถ้าถ่างออกเรียกว่า Toe-Out มีค่าเป็นบวก สำหรับการขับขี่จะตั้งค่ามุมโทให้เป็น Toe-in เล็กน้อย ให้ล้อหน้าจิกถนนและวิ่งได้ตรง



มุมโททำให้ล้อหมุนเลี้ยวได้อย่างราบรื่น

มุมโททำให้ล้อหมุนเลี้ยวได้อย่างราบรื่น

มุมแคสเตอร์

เป็นมุมในการวางตำแหน่งล้อ ช่วยควบคุมพวงมาลัยให้เข้าโค้งได้อย่างสมดุล หากมองจากด้านข้างของรถถ้ามุมแคสเตอร์เป็นบวกจะทำให้แกนพวงมาลัยเอียงไปทางคนขับ แต่ถ้าเป็นลบ แกนพวงมาลัยจะเอนเอียงไปทางด้านหน้ารถ แต่ปกติแล้วมุม Caster จะปรับไม่ได้

มุมแคสเตอร์ช่วยควบคุมพวงมาลัยให้เข้าโค้งได้อย่างสมดุล

มุมแคสเตอร์ช่วยควบคุมพวงมาลัยให้เข้าโค้งได้อย่างสมดุล

จะเห็นได้ว่ามุมทั้ง 3 มีความสำคัญต่อการขับขี่ หากตั้งค่าไม่ดีก็อาจเกิดปัญหายางกินในขึ้นได้ แถมยังทำให้ยางรถเกิดการสึกหรอในลักษณะต่างๆ ที่ส่งผลต่อการควบคุมรถ อาทิ

·     

การสึกที่ไหล่ยางด้านเดียว

เรียกอีกอย่างว่า การสึกแบบแคมเบอร์ เกิดจากการตั้งมุมแคมเบอร์ที่บวกหรือลบมากเกินไป ทำให้ยางด้านในด้านหนึ่งสึกเร็วหรือยางกินในกว่าอีกด้านอย่างชัดเจน

   

การสึกแบบฟันเลื่อย

มักเกิดจากมุมโทที่บวกหรือลบมากเกินไป พบได้ทั่วไปบริเวณไหล่ยาง เมื่อลองลูบหน้ายางจะรู้สึกสะดุดมือคล้ายฟันเลื่อย

การสึกแบบขนนก

เกิดจากความผิดปกติของศูนย์ล้อหลายแบบพร้อมกัน เช่น มุมโทและมุมแคสเตอร์ที่มากเกินไป ลักษณะคือยางด้านหนึ่งจะสึกน้อยกว่าอีกด้านหนึ่ง ฝั่งหนึ่งจะเป็นแนวเรียบโค้ง ส่วนอีกฝั่งจะสึกเป็นรอยหยักมากกว่า คล้ายรูปร่างของขนนก

 

สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดยางกินในทำได้ไม่ยาก เริ่มจากการหมั่นสลับยางเป็นประจำเพื่อให้ยางทุกเส้นสึกหรอเท่า ๆ กัน โดยแนะนำให้ทำทุก 10,000 กิโลเมตร รวมถึงหมั่นตั้งศูนย์ถ่วงล้อใหม่เป็นประจำทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร เพื่อปรับแต่งกลไกการบังคับรถให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องอยู่เสมอ ช่วยให้พวงมาลัยบังคับง่าย มีความสมดุลของล้อ ลดปัญหายางกินในและความเสียหายที่เกิดกับยางและช่วงล่างของรถ

 

เทคนิคการดูแลรถบางเรื่องอาจดูไกลตัวผู้ขับขี่ แต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถประเมินความผิดปกติของรถ คาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และแก้ปัญหาได้ทันท่วงที มากไปกว่านั้น ยังทำให้ผู้ขับขี่ตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัย ช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อีกทางหนึ่ได้